ประวัติ กรมอู่ทหารเรือ

ประวัติ กรมอู่ทหารเรือ


          กรมอู่ทหารเรือ ดำเนินการซ่อมสร้างเรือมา 
ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่๔) ซึ่งในสมัยนั้น ได้มีเรือกลไฟใช้ราชการ
ในยุคนั้นมีชื่อเรียกว่า อู่เรือหลวง 
           กรมอู่ทหารเรือ ตั้งอยู่ด้านใต้ของวัดระฆัง
โฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี มีเนื้อที่ ๔๐ ไร่ กาลเวลา
ต่อมา เรือหลวงมีมากขึ้นและมีขนาดของเรือใหญ่ขึ้น
มาเป็นลำดับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าโปรด
ให้สร้างอู่ไม้ขนาดใหญ่ และเสด็จพระราชดำเนิน 
ประกอบพิธีเปิดอู่เรือหลวงเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันศุกร์
ที่ ๙ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๓ (วันสถาปนากรมอู่ทหาร
เรือ) นับแต่นั้นมา กิจการอู่เรือก็ได้เริ่มดำเนินการและ
ได้มีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงในด้านองค์วัตถุที่
สำคัญ ๆ เพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถให้พอเพียง
กับจำนวนเรือ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 

   
      ปี พ.ศ.๒๔๔๗ ขยายอู่ไม้ใช้เป็นอู่คอนกรีตขนาด กว้าง ๑๑.๒ เมตร ยาว ๙๐ เมตร ลึก ๔ เมตร เรียกอู่นี้ว่า อู่หมายเลข ๑ (อู่นอก)
     ปี พ.ศ.๒๔๕๒ สร้างท่าเทียบเรือติดตั้งปั่นจั่นสำหรับยกของหนัก 
     ปี พ.ศ.๒๔๕๘ ขยายอู่หมายเลข ๑ ให้ยาวออกไปอีก ๕๔ เมตร มีประตูพับกั้นเขต เรียกอู่หมายเลข ๑ (อู่ใน)
 
   
     วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ได้ทรงกรุณา
โปรดเกล้าฯ        ให้พลเรือเอกพระบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพร
เขตอุดมศักดิ์    เสนาธิการทหารเรือ     มาเป็น
ผู้บัญชาการในหน้าที่เจ้ากรมยุทธโยธาทหารเรือ
อีกตำแหน่งหนึ่ง
 
   
      ปี พ.ศ.๒๔๗๘ สร้างอู่ใหม่ขนาดกว้าง ๙.๘ เมตร ยาว ๑๓๐ เมตร 
ลึก ๔ เมตร เรียกว่าอู่หมายเลข ๒      ปัจจุบันกรมอู่ทหารเรือมีภารกิจ 
คือ มีหน้าที่อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ และดำเนิน
การในเรื่องการซ่อม สร้างดัดแปลง ทดสอบ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับเรือ 
อากาศยาน ยานรบ และอุปกรณ์ การช่างที่เกี่ยวข้อง การส่งกำลังพัสดุสายช่าง
ตลอดจนให้การฝึก และศึกษาวิชาอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
ซึ่งมีเจ้ากรมอู่ทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

  
             
:: กรมอู่ทหารเรือ ประกอบด้วยองค์กรย่อยดังนี้ ::
 
 
๑.
กองบังคับการ
     มีหน้าที่วางแผนอำนวยการประสานงานแนะนำและกำกับการเกี่ยวกับกิจการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอู่ทหารเรือ รวมทั้งดำเนินการในเรื่องการธุรการ การเงิน การรักษาความปลอดภัย การกฏหมาย กรรมวิธีข้อมูลและสถิติ
๒.
กรมแผนการช่าง
      มีหน้าที่สำรวจตรวจสอบวางแผนอำนวยการกำกับการออกแบบกำหนดคุณลักษณะเฉพาะ กำหนดราคามาตรฐาน กำหนดรายการพัสดุและประมาณราคา จัดทำและควบคุมโครงการและงบประมาณที่เกี่ยวกับแผนหลักในการซ่อมสร้าง ดัดแปลงและปรับปรุงเรือ อุปกรณ์ประจำเรือยานพาหนะ อากาศยาน เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า
๓.
กรมพัฒนาการช่าง
      มีหน้าที่ดำเนินการในด้านการศึกษาอบรมและพัฒนาทหารพรรคกลิน ทหารพรรคพิเศษเฉพาะเหล่าทหารช่างยุทธโยธา นักเรียนผู้ช่วยช่างและลูกจ้างที่ทำงานในโรงงานในสาขาวิชาชีพการช่างต่าง ๆ วิจัยพัฒนาทดสอบ ทดลอง และประเมินคุณค่าวัสดุกรรมวิธีปฏิบัติงานและผลงานการซ่อมเพื่อสนับสนุนการซ่อมสร้าง ดัดแปลงยานพาหนะ อากาศยาน อุปกรณ์ทางช่างทุกประเภท ตลอด จนเป็นศูนย์ควบคุมคุณภาพงานซ่อมและสร้าง
๔.
อู่ทหารเรือธนบุรี
      มีหน้าที่ดำเนินการสร้าง ซ่อมและดัดแปลงเรือ เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้าและอุปกรณ์การปืน
๕.
อู่ทหารเรือพระจุลจอมเกล้า
      มีหน้าที่ซ่อมสร้างดัดแปลงเรือและอุปกรณ์ทางช่าง ตลอดจนงานนิรภัยการช่าง โดยเน้นการดำเนินการให้กับเรือขนาดใหญ่เพื่อลดปัญหาความแออัดของอู่ทหารเรือธนบุรี ตลอดจนแก้ปัญหาการที่เรือรบไม่สามารถแล่นผ่านสะพานได้เหมือนที่ผ่านมาในอดีต
๖.
ศูนย์พัสดุช่าง
      มีหน้าที่รวบรวมและกำหนดความต้องการจัดหา เก็บรักษาแจกจ่ายและจำหน่ายพัสดุสายการช่าง ตลอดจนเสนอแนะในด้านการบริหารพัสดุสายการช่างของกองทัพเรือ
 
 
:: เจ้ากรมอู่ทหารเรือในอดีต ::
 
 
 
๑.
พันเอก พระอรสุมพลาภิบาล๑ เม.ย.๒๔๓๓
๒.
ขุนพรหมรักษา(กร หงสกุล)๑ ส.ค.๒๔๓๓ - ๒๔๓๖
๓.
น.อ. เตรล๒๔๓๖ - ๒๔๔๓
๔.
น.ต. อีวันซี๒๔๔๓ - ๓๐ ก.ย.๒๔๕๑
๕.
น.อ. พระวิจารณ์จักรกิจ (วิลเลียม บุณยกะสิน, พล.ร.ท.พระยาวิจิตรนาวี)๑ ต.ค.๒๔๕๑-๑ ก.ค.๒๔๖๔
๖.
พล.ร.ต.พระยาดำรงราชพลขันธ์ (คอน บุนนาค)๑ ก.ค.๒๔๖๔-๘ ธ.ค.๒๔๖๕
๗.
พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์๘ ธ.ค.๒๔๖๕-๑๙ พ.ค.๒๔๖๖
๘.
พล.ร.อ.หม่อมเจ้าอุปพัทธพงษ์ ศรีธวัช๖ ก.ค.๒๔๖๖-๒ พ.ย.๒๔๖๖
๙.
น.อ.พระฤทธิคำรณ (เทียบ นายเรือ, นาวาเอก พระยาฤทธิรุทคำรน)๒ พ.ย.๒๔๖๖-๒๗ ธ.ค.๒๔๗๐
๑๐.
น.ท. หม่อมเจ้าเจริญศุขโสภาคย์เกษมสันต์๒๘ ธ.ค.๒๔๗๐-๘ ก.ค.๒๔๗๕
๑๑.
พล.ร.ท.พระวิจิตรนาวี (แดงลางคุลเสน)๘ ก.ค.๒๔๗๕-๓๑ พ.ค.๒๔๗๖
๑๒.
พล.ร.ต.พระยาวิจารณ์จักรกิจ (บุญชัย สวาทะสุข)๑ มิ.ย.๒๔๗๖-๙ พ.ค.๒๔๘๑
๑๓.
พล.ร.ท.พระวิจิตรนาวี (แดงลางคุลเสน)๑๐ พ.ค.๒๔๘๑-๓๑ ก.ค.๒๔๘๑
๑๔.
พล.ร.ต.พระจักรานุกรกิจ (วงษ์ สุจริตกุล)๑ พ.ย.๒๔๘๑-๒๔ ม.ค.๒๔๘๙
๑๕.
พล.ร.ต.หลวงสุภัทรกลพิทย์ (สพาทย์ ลักษณียนาวิน)๒๕ ม.ค.๒๔๘๙-๑๔ เม.ย.๒๔๙๐
๑๖.
พล.ร.ท.พระวิจิตรนาวี (แดงลางคุลเสน)๑๕ เม.ย.๒๔๙๐-๓๑ ธ.ค.๒๔๙๕
๑๗.
พล.ร.ท.พระวิจิตรนาวี (แดงลางคุลเสน)๑ ม.ค.๒๔๙๖-๑ ม.ค.๒๔๙๘
๑๘.
พล.ร.ท.ศรี ดาวราย๑ ม.ค.๒๕๐๑- ๓๑ ธ.ค.๒๕๐๓
๑๙.
พล.ร.ท.ผิว มีคุณเอี่ยม๑ ม.ค.๒๕๐๔-๑๕ มิ.ย.๒๕๐๕
๒๐.
พล.ร.ท.ผวน ศรีเพ็ชร์๑ ต.ค.๒๕๐๕-๓๐ ก.ย.๒๕๐๗
๒๑.
พล.ร.ท.อุดม สุทัศน์ ณ อยุธยา๑ ต.ค.๒๕๐๗-๒๐ ธ.ค.๒๕๑๔
๒๒.
พล.ร.ท.เทียม มกรานนท์ (พล.ร.อ.เทียม มกรานนท์)๒๑ ธ.ค.๒๕๑๔-๓๐ ก.ย.๒๕๒๐
๒๓.
พล.ร.ท.ผริตเดช รุมาคม๑ ต.ค.๒๕๒๐-๓๐ ก.ย.๒๕๒๓
๒๔.
พล.ร.ท.จินดา วุฑฒกนก๑ ต.ค.๒๕๒๓-๓๐ ก.ย.๒๕๒๔
๒๕.
พล.ร.ท.อุระ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา๑ ต.ค.๒๕๒๔-๓๐ ก.ย.๒๕๒๗
๒๖.
พล.ร.ท.สนิท บัวสาย๑ ต.ค.๒๕๒๗-๓๐ ก.ย.๒๕๒๙
๒๗.
พล.ร.ท.ประชุม เวศม์วิบูลย์๑ ต.ค.๒๕๒๙-๓๐ ก.ย.๒๕๓๐
๒๘.
พล.ร.ท.วิจารณ์ สวนสัน๑ ต.ค.๒๕๓๐-๓๐ ก.ย.๒๕๓๒
๒๙.
พล.ร.ท.อำนาจ จันทนมัฎฐะ๑ ต.ค.๒๕๓๒-๓๑ มี.ค.๒๕๓๔
๓๐.
พล.ร.ท.เชี่ยว โรจนชลา๑ เม.ย.๒๕๓๔-๓๑ มี.ค.๒๕๓๕
๓๑.
พล.ร.ท.กนก ดวงนภา๑ เม.ย.๒๕๓๕-๓๑ มี.ค.๒๕๓๗
๓๒.
พล.ร.ท.ไพฑูรย์ จันทรภักดี๑ เม.ย.๒๕๓๗-๓๐ ก.ย.๒๕๓๘
๓๓.
พล.ร.ท.อุกฤษ อิศรางกูร ณ อยุธยา๑ ต.ค.๒๕๓๘-๓๐ ก.ย.๒๕๓๙
๓๔.
พล.ร.ท.สุจินต์ ธรรมรักษา๑ ต.ค.๒๕๓๙-๓๑ มี.ค.๒๕๔๐
๓๕.
พล.ร.ท.ธัญ สินอากร๑ เม.ย.๒๕๔๐-๓๐ ก.ย.๒๕๔๐
๓๖.
พล.ร.ท.ชุมศักดิ์ มัธยมจันทร์๑ ต.ค.๒๕๔๐ - ๓๐ ก.ย.๒๕๔๒
๓๗.
พล.ร.ท.มานพ วัจนะรัตน์๑ ต.ค.๒๕๔๒ - ๓๐ ก.ย.๒๕๔๓
๓๘.
พล.ร.ท.พีระจิตร์ สุรักขกะ๑ ต.ค.๒๕๔๓ - ๓๑ มี.ค. ๒๕๔๖
๓๙.
พล.ร.ท.ชูศักดิ์ เสนานิกรม๑ เม.ย ๒๕๔๖ - ๒๗ เม.ย.๒๕๔๙
๔๐.
พล.ร.ท.วีรวัฒน์ วงษ์ดนตรี๒๘ เม.ย ๒๕๔๙ - ๓๑ มี.ค.๒๕๕๑
๔๑.
พล.ร.ท.วรพจน์ วนินทานนท์๑ เม.ย.๒๕๕๑ - ๓๐ ก.ย.๒๕๕๑
๔๒.
พล.ร.ท.ฉลอง  พัฒนโสภณ๑ ต.ค.๒๕๕๑ - ๓๐ ก.ย.๒๕๕๒
๔๓.
พล.ร.ท.สมมาตร์  วิมุกตานนท์๑ ต.ค.๒๕๕๒ - ๓๐ ก.ย.๒๕๕๓
๔๔.
พล.ร.ท.อรรถพงษ์  ณ นคร๑ ต.ค.๒๕๕๓ - ๓๐ ก.ย.๒๕๕๔
๔๕.
พล.ร.ท.มานิตย์ สูนนาดำ๑ ต.ค.๒๕๕๔ - ๓๑ มี.ค.๒๕๕๖
๔๖.
พล.ร.ท.หม่อมหลวงอนุนพนันท์ นวรัตน์๑ เม.ย.๒๕๕๖ - ๓๑ มี.ค.๒๕๕๗
๔๗.
พล.ร.ท.วสันต์ แจ้งยอดสุข๑ เม.ย.๒๕๕๗ - ๓๑ มี.ค.๒๕๕๘
๔๘.
พล.ร.ท.พิทักษ์ พิบูลทิพย์๑ เม.ย.๒๕๕๘ - ๓๐ ก.ย.๒๕๕๘
๔๙.
พล.ร.ท.สุทธินันท์ สกุลภุชพงษ์๑ ต.ค.๒๕๕๘ - ปัจจุบัน